ปัสสาวะเล็ด มดลูกหย่อน และท้องผูกเรื้อรัง 3 กลุ่มอาการที่ดูเหมือนว่าจะต้
พันโทหญิงแพทย์หญิงจรรยวรรธน์ สร้างสมวงษ์ ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า บริเวณกระดูกอุ้งเชิ งกรานจะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้ ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor) ที่ทำหน้าที่พยุง 3 อวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ มดลูกในผู้หญิง ต่อมลูกหมากในผู้ชาย รวมไปถึงลำไส้และทวารหนัก ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ก็จะทำให้อวัยวะเหล่านี้เคลื่ อนต่ำลงมาจากตำแหน่งปกติและก่ อให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่
- อาการปัสสาวะเล็ด
- มดลูกหย่อน ปากมดลูกปลิ้น
- อาการท้องผูกเรื้อรัง ถ่ายไม่ออก และลำไส้ปลิ้น
โดยอาการของแต่ละคนขึ้นอยู่กั บว่าจะเกิดปัญหาจากส่วนใดก่ อนหรือหลัง แต่ตามหลักการแล้วเมื่ออุ้งเชิ งกรานหย่อนก็มักจะทยอยก่อให้เกิ ดอาการทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้พบได้บ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะผู้ที่เคยผ่านการคลอดบุ ตรหลายครั้ง ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดั นต่ออุ้งเชิงกราน
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าหรือ MRI เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยยืนยั นภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน แพทย์จะสามารถดูได้ว่าเกิดปั ญหาที่อวัยวะใดบ้าง จากนั้นจะจึงจะวางแผนการรักษาต่ อไป ซึ่งโดยหลักการถึงแม้ว่าจะเกิ ดปัญหาที่อวัยวะเดียว แต่ในอนาคตปัญหาอื่นก็ อาจจะตามมาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่ าตัดแก้ไขอุ้งเชิงกรานหย่อน ซึ่งสามารถรักษาได้ทุกปั ญหาในคราวเดียว
การผ่าตัดแก้ไขอุ้งเชิงกรานหย่ อน (Total Pelvic Organ Suspension หรือ T-POS) เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery) โดยศัลยแแพทย์จะกรีดแผลขนาด 0.5 – 1 เซนติเมตร ประมาณ 3 – 5 แผล แล้วสอดกล้อง Laparoscope เข้าไป จากนั้นจะใช้แผ่นใยสังเคราะห์ ไปวางยึดเข้ากับโครงสร้างของอุ้ งเชิงกราน เพื่อช่วยยกและพยุงอวัยวะที่หย่ อนให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ เหมาะสม
ข้อดีของการผ่าตัดแบบ Total Pelvic Organ Suspension (T-POS) ได้แก่
- ช่วยแก้ไขภาวะอุ้งเชิงกรานหย่
อนหลายตำแหน่งพร้อมกัน (ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และมดลูก) - ลดโอกาสเกิดภาวะหย่อนซ้ำได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีการใช้แผ่นใยสั
งเคราะห์พยุงอวัยว - ฟื้นตัวเร็วกว่าเมื่อเทียบกั
บการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบดั้ งเดิม - แผลขนาดเล็ก ลดโอกาสติดเชื้อและลดความเจ็
บปวด - สามารถทำร่วมกับการแก้ปัญหาปั
สสาวะเล็ด ได้ในคราวเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดแก้ไขอุ้งเชิงกรานหย่ อน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยผ่ าตัดช่องท้องมาก่อน เพราะจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องผั งผืดที่หน้าท้องมาขั ดขวางในระหว่างผ่าตัด