ารวิจัย The Decision Dilemma จัดทำโดย ออราเคิล และ เซธ สตีเฟนส์-เดวิโดวิตซ์ (Seth Stephens-Davidowitz) นักเขียนหนังสือติดอันดับขายดีของ New York Times ระบุว่า ผู้คนต่างรู้สึกกดดันและคิดว่าตัวเองไม่มีความรู้เพียงพอในการใช้ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ สิ่งนี้ยังบ่อนทำลายคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาด้วย งานศึกษาซึ่งสำรวจความคิดเห็นของพนักงานและผู้บริหารมากกว่า 14,000 คนใน 17 ประเทศ รวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 45,000 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (JAPAC) ชี้ว่าผู้คนกำลังรู้สึกลำบากในการตัดสินใจทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน ในยุคที่ถูกกดดันให้ต้องตัดสินใจมากกว่าในอดีต
ภาระการตัดสินใจของเราเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณแต่ข้อมูลที่มากขึ้นอาจไม่ได้ช่วยอะไร
ผู้คนใน JAPAC กำลังถูกครอบงำด้วยปริมาณข้อมูลมากมาย สิ่งนี้กำลังทำลายความมั่นใจ ทำให้การตัดสินใจซับซ้อนยิ่งขึ้น และส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา
- ผู้คน 74% กล่าวว่าจำนวนการตัดสินใจที่พวกเขาทำในแต่ละวันเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และในขณะที่กำลังตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ กว่า 75% ถูกจู่โจมด้วยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากกว่าครั้งใดในอดีต
- 86% ยอมรับว่าข้อมูลจำนวนมากทำให้การตัดสินใจทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัวและการทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น และ 61% ยอมรับว่าพวกเขาเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการตัดสินใจ (ไม่รู้ว่าต้องตัดสินใจอย่างไร) มากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน
- 33% ไม่ทราบว่าข้อมูลใดหรือแหล่งข้อมูลใดที่เชื่อถือได้ และ 71% ตัดสินใจไม่ได้เพราะข้อมูลมีจำนวนมหาศาลเกินไป
- 89% กล่าวว่าการไม่สามารถตัดสินใจได้ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต ทำให้เกิดความวิตกกังวล (37%) พลาดโอกาส (37%) และการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (35%)
- ผลที่ตามมาคือ 92% เปลี่ยนวิธีการตัดสินใจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุบัน 41% รับฟังเฉพาะแหล่งข้อมูลที่พวกเขาเชื่อถือ และ 31% พึ่งพาความรู้สึกเพียงอย่างเดียว
ความกดดันในการตัดสินใจสร้างความเฉื่อยชาในองค์กร
ผู้นำธุรกิจในภูมิภาค JAPAC ต้องการข้อมูลเพื่อมาช่วยสนับสนุน ทั้งยังตระหนักดีว่าข้อมูลมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร แต่กลับไม่มั่นใจว่าพวกเขามีเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ซึ่งบั่นทอนความมั่นใจและความสามารถในการตัดสินใจอย่างมาก
- 87% ของผู้บริหารธุรกิจมีความทุกข์จากความกดดันในการตัดสินใจ เช่น เสียใจ รู้สึกผิด หรือตั้งคำถามกับการตัดสินใจของตนเองในปีที่ผ่านมา และ 90% เชื่อว่าการมีข้อมูลข่าวกรองเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสม สามารถสร้างหรือทำลายความสำเร็จขององค์กรได้เลยทีเดียว
- 96% ต้องการการสนับสนุนจากข้อมูล โดยในเชิงอุดมคติ พวกเขาต้องการข้อมูลเพื่อช่วยให้ ตัดสินใจได้ดีขึ้น (43%) ลดความเสี่ยง (37%) ตัดสินใจได้เร็วขึ้น (40%) ทำเงินได้มากขึ้น (37%) และสามารถวางแผนสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด (30%)
- แต่ในความเป็นจริง 73% ยอมรับว่าข้อมูลมีปริมาณมหาศาลเกินไป และการขาดความเชื่อถือในข้อมูลทำให้พวกเขาไม่สามารถตัดสินใจใด ๆ ได้เลย และ 92% เชื่อว่ายิ่งมีแหล่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเป็นตัวจำกัดความสำเร็จขององค์กรเท่านั้น
- การจัดการแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมด (47%) ทำให้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ช้าลง (38%) และอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น (31%)
- ผู้บริหารธุรกิจไม่เชื่อว่าแนวทางการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ในปัจจุบันจะสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ โดย 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาค JAPAC ยอมรับว่าแผงควบคุมและแผนภูมิที่พวกเขาได้รับมา ไม่ได้สัมพันธ์โดยตรงกับการตัดสินใจที่พวกเขาต้องทำเสมอไป และ 77% เชื่อว่าข้อมูลส่วนใหญ่มีประโยชน์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีหรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเท่านั้น
- ผู้บริหารธุรกิจทราบว่าสิ่งนี้จำเป็นต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง พวกเขาเชื่อว่าข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องสามารถช่วยสนับสนุนพวกเขาในการตัดสินใจได้ดีขึ้นทั้งในเรื่องทรัพยากรบุคคล (97%) การเงิน (93%) ห่วงโซ่อุปทาน (95%) และประสบการณ์ลูกค้า (93%)
ข้อมูลต้องสัมพันธ์กับการตัดสินใจ มิฉะนั้นจะโดนเขี่ยทิ้ง
การรวบรวมและตีความข้อมูลผลักดันให้ผู้คนในภูมิภาค JAPAC ก้าวไปสู่จุดเปลี่ยนในช่วงเวลาที่ต้องวางเดิมพันสูงอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับเหล่าผู้บริหารธุรกิจ
- ผู้คน 73% ระบุว่ารู้สึกปวดหัวกับการที่ต้องรวบรวมและตีความข้อมูล เพราะมันมีจำนวนมากกว่าที่พวกเขาที่จะสามารถจัดการได้
- โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจ 75% ของผู้บริหารธุรกิจกล่าวว่าผู้คนมักตัดสินใจก่อนแล้วจึงค่อยหาข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนการตัดสินใจนั้น พนักงาน 74% เชื่อว่าธุรกิจต่าง ๆ มักให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของบุคคลที่มีรายได้สูงสุดมากกว่าข้อมูล และ 26% ของผู้ตอบแบบสอบถามใน JAPAC รู้สึกว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้นไม่สมเหตุสมผล
- สถานการณ์มีความท้าทายอย่างมาก จนทำให้ผู้คนกว่า 81% และผู้บริหารธุรกิจกว่า 85% ต้องการขจัดปัญหาเหล่านี้และให้หุ่นยนต์มาช่วยตัดสินใจแทน
- แม้รู้สึกผิดหวังกับข้อมูลทั้งในเรื่องส่วนตัวและการทำงาน แต่ผู้คนทราบว่าหากไม่มีข้อมูล การตัดสินใจของพวกเขาจะแม่นยำน้อยลง (45%) ประสบความสำเร็จน้อยลง (32%) และมีแนวโน้มเกิดข้อผิดพลาด (41%)
- ผู้คนยังเชื่อว่าองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า (77%) จะประสบความสำเร็จมากกว่า (77%) เป็นบริษัทที่พวกเขาอยากลงทุนด้วย (75%) เป็นพันธมิตรคู่ค้าด้วย (75%) และทำงานด้วย (76%)
เซธ สตีเฟน-เดวิโดวิตซ์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลและผู้เขียนหนังสือ Everybody Lies and Don’t Trust Your Gut กล่าว “การศึกษา ครั้งนี้ ย้ำว่าข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้คนได้รับในหนึ่งวันโดยเฉลี่ย เช่น จากการค้นหาทางอินเทอร์เน็ต ข่าวแจ้งเตือน ความคิดเห็นที่ไม่พึงประสงค์จากเพื่อน และอื่น ๆ มักจะทับถมกันจนมากเกินกว่าที่สมองจะจัดการได้ ผู้คนจึงมักทิ้งข้อมูลที่ดูสับสนและขัดแย้งกันออกไป และเลือกทำในสิ่งที่คิดว่าใช่ แต่นี่อาจเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ โดยได้มีการพิสูจน์หลายครั้งแล้วว่าสัญชาตญาณของเราอาจทำให้เราหลงทางได้เช่นกัน และการตัดสินใจที่ดีที่สุดต้องเกิดจากความเข้าใจที่ถูกต้องกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน การพยายามจัดการกับกระแสข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อให้ธุรกิจสามารถแยกแยะระหว่างสัญญาณเตือนและสัญญาณรบกวนได้นั้น ถือเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง”
พญ. กนกวรรณ พรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลินิเซอร์ จำกัด กล่าว “ในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์และระบบการเรียนรู้ของเครื่องเช่นทุกวันนี้ นับเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่องค์กรการวิจัยตามสัญญาจ้าง (Contract Research Organization: CRO) ต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถค้นพบวิธีการรักษาใหม่ ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้นสำหรับคลินิเซอร์ ระบบการวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาทางคลินิกของเราซึ่งทำงานบน Oracle Analytics Cloud ช่วยให้ CRO สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำสอบทางคลินิกและนำเสนอวิธีการรักษาใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อมอบผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้ป่วย”
ทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย กล่าว “เมื่อธุรกิจในประเทศไทยเกิดการขยายตัวเพื่อให้บริการลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้ปริมาณข้อมูลที่จำเป็นซึ่งถูกป้อนเข้าสู่ระบบมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับผู้บริหารธุรกิจที่ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ การเพิกเฉยต่อข้อมูลก็ย่อมจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเขาเอง ความลังเล ความไม่เชื่อมั่น และการขาดความเข้าใจในข้อมูล
การศึกษาครั้งนี้ สอดคล้องกับสิ่งที่เราได้ยินจากลูกค้าที่กำลังทบทวนวิธีการตัดสินใจของพวกเขา ลูกค้าของเรากำลังมองหาการสนับสนุนในการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ และด้วยศักยภาพของระบบคลาวด์ที่เชื่อมโยงกันของเรา นับตั้งแต่การจัดการข้อมูลพื้นฐาน การวิเคราะห์เพิ่มเติมและการวิเคราะห์เชิงประยุกต์ ไปจนถึงชุดแอปพลิเคชันเพื่อการดำเนินงาน ทำให้เราก้าวไปสู่ตำแหน่งที่เหนือกว่าคู่แข่งเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ และช่วยสนับสนุนลูกค้าของเราในเมืองไทยให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง”
ดร. คริส มาร์แชล รองประธานฝ่ายวิจัยของ IDC กล่าว “ผู้นำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกกำลังตระหนักมากขึ้นถึงบทบาทของข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มีคุณภาพ ว่าจะสามารถเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดและลูกค้าได้ ซึ่งจะพลิกโฉมธุรกิจแบบเดิม ๆ และแม้แต่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอุตสาหกรรมทั้งหมด ข้อมูลจากเอกสาร IDC’s Worldwide Big Data and Analytics (BDA) Spending Guide for Asia Pacific ฉบับล่าสุด คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายเกี่ยวกับโซลูชั่นระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (BDA) จะสูงถึง 70.7 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2569 การนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลและแนวทางการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ระบบดิจิทัล จะถือเป็นการวางเดิมพันสำหรับผู้นำระดับภูมิภาค เนื่องจากพวกเขาต้องการเพิ่มรายได้และสร้างประสิทธิภาพด้านต้นทุนให้ดีขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนเช่นทุกวันนี้”