สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยลุยจัดงานสัมมนา EV Tech Forum 2024 ดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าไทยสู่ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ

สัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) นำโดย สุโรจน์ เเสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จัดงานเสวนา “ยานยนต์ไฟฟ้ามุ่งสู่ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ : การปฏิวัตินวัตกรรมที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับยานยนต์เเห่งอนาคต”

    รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ ววน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สก.สว.) กล่าวท่านเเรก โดยได้ให้ข้อมูลว่า “ทาง สก.สว. ได้ให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆในประเทศไทยในด้านงบประมาณ องค์กรที่ต้องการเเหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเเห่งอนาคต ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการสนับสนุน และส่งเสริมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในประเทศ นอกจากนี้ ทาง ววน. ยังได้เริ่มมีการพูดคุยกับ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกอย่าง Nvidia ในการร่วมกันพัฒนาระบบแท็กซี่ไร้คนขับ ซึ่งคาดว่าหากการพัฒนาดังกล่าว มีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดี ประเทศไทยน่าจะมีโอกาสได้เห็น บริการแท็กซี่ไร้คนขับ ที่มีโอกาสเป็นไปได้ครับ”
    ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมเเห่งชาติ (องค์การมหาชน) “ทางสำนักงานนวัตกรรมเเห่งชาติ ได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องของเเหล่งเงินทุน และบริการต่างๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการผ่านการดำเนินงานในธุรกิจนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ผ่านกลยุทธ์ Groom, Grant, Growth และ Global ของ สำนักงานนวัตกรรมเเห่งชาติ โดยมี 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรอาหารและสมุนไพร สุขภาพและการเเพทย์ พลังงานสิ่งแวดล้อมยานยนต์ไฟฟ้า การท่องเที่ยวและ Soft power”

    รศ.ดร. ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า “การพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ (Next Generation Mobility) ที่เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งในฐานะศูนย์วิจัยฯ ต้องการช่วยให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ รวมถึงการศึกษาการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของประเทศและโลกในขณะนี้
   
    ทำให้มหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการพัฒนาศูนย์วิจัย MOVE ขึ้น ในปี พ.ศ. 2563 ภายใต้แนวคิด 3i ได้เเก่ i แรก คือ industry ในการสร้างความร่วมมือที่เข้มเเข็งกับภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ i สอง คือ international infrastructure ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และห้องปฎิบัติการสำหรับการทดสอบตามมาตรฐานสากล และ i สาม คือ integration for innovation impact ในการบูรณาการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยหวังว่าการทำงานของศูนย์วิจัยฯ ที่ผ่านมา จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดความเเข็งแกร่งและมั่นคง รวมทั้งการพัฒนาระบบนิเวศน์ของยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย”

    ณัฐนัย หงสุรพันธ์ หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า “กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างจัดทำโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategic Roadmap) สำหรับรองรับ ขับเคลื่อน และกำกับดูแลการใช้งานยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (Connected and Autonomous Vehicles, CAV) ในประเทศไทย ให้มีความปลอดภัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน”

    ดร.ปาษาณ กุลวานิช หัวหน้าโครงการพัฒนาสนามทดสอบยานยนต์ CAV Proving Ground กลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และ ระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เผยว่า “มีภารกิจหน้าที่ทางด้านงานวิจัยพัฒนาวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยปัจจุบันแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ได้ปรับไปเป็น ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์เชื่อมต่อ และยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ดังนั้น วศ. จึงให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยียานยนต์อัตโนมัติแบบ CAV (Connected and Automated Vehicle) เป็นอย่างมาก โดยได้สร้างสนามทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ พร้อมพัฒนาอุปกรณ์และวิธีทดสอบ พร้อมให้บริการ ณ วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)”

    โดยงานสัมมนา EV Tech Forum นั้นจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดยในเเต่ละปีจะมีหัวข้องานสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์เเห่งอนาคต และได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากผู้เข้าฟังเสวนา

RELATED ARTICLE

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เชิญชวนผู้ประกอบการร้านค้าปลีก-ค้าส่ง ธุรกิจบริการ หรือที่อยู่อาศัย สร้างรายได้จากพื้นที่ว่างหน้าร้านโดยเปิด จุดให้บริการรับฝากสิ่งของและพัสดุ “EMS Point” ด้วยมาตรฐานเดียวกับที่ทำการไปรษณีย์ โดยไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมรับค่าตอบแทนสูงสุด 40 บาทต่อชิ้น ผู้ประกอบการร้านค้าที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://postone.thailandpost.com/register ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน ไปรษณีย์ไทยมีเครือข่ายเพื่อนพี่ไปรฯ ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 50,000 จุด โดยกลุ่มที่มีศักยภาพ และเข้าถึงผู้ใช้บริการได้อย่างใกล้ชิดคือกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีก-ค้าส่ง ธุรกิจบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ คาเฟ่ ร้านอาหาร ร้านซักแห้ง ร้านเสริมสวย ฯลฯ และพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นการสร้าง รายได้เพิ่มจากพื้นที่ที่ว่างอยู่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม รองรับพฤติกรรมการส่งสิ่งของของคนไทยที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ได้ทุกเวลา นอกจากนี้เครือข่ายเพื่อนพี่ไปรฯสามารถรับค่าตอบแทนในการรับฝาก 5 – 40 บาท/ชิ้นทันทีเมื่อมีการฝากส่งจากลูกค้า ทั้งนี้ ไปรษณีย์ไทยพร้อมดูแลผู้ที่สนใจเปิดจุด EMS Point ตั้งแต่การให้คำแนะนำ ไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้า และพร้อมสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ตกแต่งหน้าร้านให้ฟรี เช่น ป้ายติดตั้งหน้าร้าน ป้ายอัตราค่าบริการให้แก่ร้านค้า ธุรกิจหรือที่อยู่อาศัยที่ร่วมเปิดบริการผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ https://postone.thailandpost.com/register และสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือ www.thailandpost.co.th

Scroll to Top