หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการสูบบุ หรี่ช่วยลดความเครียดและทำให้รู้ สึกผ่อนคลาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว นิโคตินในบุหรี่กลับส่ งผลกระทบต่อสมองและร่ างกายในทางลบ นอกจากนี้ ในทางจิตเวช อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคซึ มเศร้าได้
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่มี ความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคปอด โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังรวมถึงสุขภาพจิตอี กด้วย ซึ่งงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็ นว่าการสูบบุหรี่สามารถเพิ่ มความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้ าและภาวะทางจิตอื่น ๆ ได้เช่นกัน
จากการศึกษาหนึ่งพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิ ดภาวะซึมเศร้าสูงขึ้นถึง 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบ และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่ าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2.5-4.3 เท่า
อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงขึ้ นตามจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ความสัมพันธ์นี้อาจเกิ ดจากหลายปัจจัย รวมถึงผลกระทบทางเคมีในสมองที่ เกิดจากนิโคติน เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่จะส่ งผลกระทบต่อสมองโดยตรง ทำให้เกิดการกระตุ้นระบบการให้ รางวัลสมอง ผู้สูบบุหรี่จึงรู้สึกผ่ อนคลายหรือมีความสุขในช่วงสั้น ๆ แต่เมื่อระดับนิโคตินลดลง ผู้สูบจะรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือหดหู่ ทำให้ต้องการสูบบุหรี่มากขึ้ นเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ โดยวงจรนี้สามารถนำไปสู่การเกิ ดโรคซึมเศร้าในระยะยาว
อาการของภาวะซึมเศร้าที่เกิ ดจากการสูบบุหรี่
• รู้สึกเศร้า หมองหม่น เบื่อหน่าย
• ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
• นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
• เบื่ออาหาร หรือทานมากผิดปกติ
• เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
• รู้สึกผิด หรือไร้ค่า
• มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย
การเลิกสูบบุหรี่เป็นขั้นตอนที่ สำคัญในการฟื้นฟูสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะลดความเสี่ยงต่ อโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งและโรคหัวใจ แต่ยังมีผลดีต่อสุขภาพจิ ตในระยะยาวด้วย อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจพบกั บความยากลำบากในการพยายามเลิกสู บบุหรี่ และอาจประสบกับความเครียด วิตกกังวล ในช่วงที่ไม่ได้สูบ ซึ่งวิธีหนึ่งในการช่วยให้ สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้น ก็คือใช้ยา ซึ่งสามารถช่วยลดความอยากบุหรี่ รวมถึงลดความเครียด และวิตกกังวล ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เลิ กสูบบุหรี่ได้
นอกเหนือจากการใช้ยา การบำบัดทางจิตวิทยา ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการจะเลิ กสูบบุหรี่สามารถจัดการกั บอารมณ์ที่เกิดขึ้นระหว่ างกระบวนการเลิกได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
การเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งสำคั ญที่สามารถช่วยให้สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดีขึ้น และลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้ าได้อย่างมีนัยสำคัญ การขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และการสนับสนุนจากคนรอบข้างเป็ นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูบบุ หรี่สามารถก้าวผ่านช่วงเวลาที่ ยากลำบากและกลับมามีสุขภาพที่ดี ขึ้น