ปัจจุบันหลายคนประสบปั
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากพฤติกรรมการนอนที่ไม่
ปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถส่งผลเสียต่อการนอน เช่น
- ด้านจิตใจ สภาวะความเครียดทำให้เกิดความกั
งวล หมดกำลังใจ อาการเหล่านี้มีผลทำให้เกิ ดอาการนอนไม่หลับ หรืออาจเกิดจากโรคที่มี ผลโดยตรงกับความอารมณ์ เช่น โรคไบโพลาร์ หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น - ด้านร่างกาย มีอาการป่วยที่มีส่วนทำให้เกิ
ดโรค เช่น โรคขาอยู่ไม่สุข โรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคขากระตุกขณะหลับ นอกจากนี้ยังเกิดจากสภาวะของร่ างกายตามอายุ เช่น การหมดประจำเดือน รวมไปถึงอาการเหนื่อยล้ าจากการทำงาน เป็นต้น - ด้านอื่น ๆ เช่น ผลข้างเคียงจากใช้ยาบางชนิด การออกกำลังกายมากเกินไป การดื่มหรือทานอาหารที่มีส่
วนผสมของคาเฟอีน
ปัจจุบัน มีการนำยาหลายกลุ่ มมาใช้ช่วยให้นอนหลับ ซึ่งยาที่ใช้บ่อยมักเป็นยาในกลุ่ ม Benzodiazepine โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ กดการทำงานของสมอง เพื่อช่วยคลายความกังวล และช่วยให้นอนได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ยาในกลุ่มนี้มีประโยชน์ มาก แต่หากผู้ป่วยใช้ยาไม่ถูกต้ องหรือมีการใช้ขนาดสูง ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการติดยานอนหลับได้ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการที่ จำเป็นต้องใช้ยาขนาดที่สูงขึ้น เพื่อให้หลับได้ หรือ ที่เรียกว่า การดื้อยา นอกจากนี้ การที่ใช้ยานอนหลับในกลุ่มนี้ติ ดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้นอนได้ยากขึ้น หากไม่ได้ใช้ยา
ผลข้างเคียงจากการใช้ยานอนหลับมีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นจะมีอาการ ง่วงนอน อ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, สับสน มึนงง, ท้องเสีย หรือ ท้องผูก, ปากแห้ง, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, การตัดสินใจช้า สมองประมวลผลช้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบั ติเหตุ พลัดตกหกล้ม, อาหารไม่ย่อย มีแก๊ซในกระเพาะอาหาร จุกเสียด แน่นท้อง ส่วนระยะยาว ส่งผลต่อการทำงานของสมอง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการนอนหลับ จนทำให้ติดยานอนหลับ การดื้อยา รวมถึงผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึ มเศร้า, ภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ, สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
นอกจากนี้ การใช้ยานอนหลับเกินขนาด อาจทำให้เกิ ดการกดระบบหายใจขณะหลับ จนอาจทำให้เสียชีวิตได้
ทั้งนี้ผู้ที่ใช้ยานอนหลับไม่ ควรเลิกยานอนหลับกระทันหันหรื อหักดิบ (Cold turkey) เพราะอาจทำให้เกิดมีอาการนอนไม่ หลับที่รุนแรงกว่าตอนที่ยังไม่ ได้ใช้ยา (Rebound insomnia) และจะทำให้เกิดอาการถอนยาได้ เช่น หงุดหงิด สับสนกระสับกระส่าย วิตกกังวล มีอาการสั่นหรือมีปั ญหาระบบไหลเวียนของโลหิต เพราะฉะนั้นต้ องลดขนาดยาตามคำแนะนำของแพทย์ เท่านั้น
การรักษาอาการติดยานอนหลับ ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากการเพิ่มหรื อลดขนาดยานอนหลับต้องอยู่ภายใต้ การดูแลของแพทย์ผู้ให้การรักษา เพราะการปรับขนาดยานอนหลับจะขึ้ นอยู่กับปัจจัยของแต่ละบุคคลด้ วย เช่น ความเครียด พฤติกรรมกิจวัตรประจำวัน ชนิดและขนาดยาที่ใช้ ซึ่งการลดขนาดยาแพทย์จะทำควบคู่ ไปกับการจิตบำบัด เช่น การบำบัดโดยการปรับความคิ ดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy: CBT) เป็นการบำบัดจิตโดยการพูดคุยกั บนักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์เพื่อช่วยให้ผู้ป่ วยสามารถปรับพฤติกรรมการนอนหลับ และรับมือกับความเครียดที่เกิ ดขึ้นได้