ความเครียด ปัญหาของวัยรุ่นที่ไม่ได้หายง่าย ๆ
หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นคือ ความเครียด ภาวะอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด และไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข พญ. เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “บ่อยครั้งเวลาเราเจอปัญหาหรืออุปสรรคที่เข้ามาในชีวิต ก็เป็นเรื่องปกติที่ทำให้เรารู้สึกเครียด ซึ่งหลายคนพอเห็นว่าเด็ก ๆ เครียด ก็มักแนะนำให้ไปฟังเพลง เล่นเกม หรือคุยกับเพื่อนก็น่าจะหายเครียดแล้ว แต่จริง ๆ ความเครียดของวัยรุ่นไม่ได้แก้ไขง่ายขนาดนั้น เพราะการจัดการกับความเครียดบางครั้งก็ต้องการคนคอยแนะนำและ อยู่เคียงข้าง”
ส่องปัจจัยและสัญญาณความเครียดในวัยรุ่นที่ครอบครัวต้องใส่ใจ
วัยรุ่นในปัจจุบันต้องเผชิญกับหลายปัจจัยที่ทำให้เครียด ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันจากการเรียน ความคาดหวังจากครอบครัว หรือแม้แต่การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นในโลกออนไลน์ และยังเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนที่ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนได้ง่ายขึ้น ซึ่งความเครียดเหล่านี้หากสะสมไว้นานอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว หรือภาวะสมาธิสั้น
พญ. เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ เล่าถึงสัญญาณของความเครียดว่า “ปกติเด็กไม่ค่อยแสดงออกว่าตั
วเองเครียด ผู้ปกครองอย่างเราจึงควรเฝ้าดู
อย่างใกล้ชิดว่ามีอะไรที่เปลี่
ยนแปลงไป เช่น ได้เกรดน้อยลง ชอบอยู่คนเดียวมากกว่าอยู่กั
บเพื่อนหรือครอบครัว หรือหงุดหงิดง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเด็ก ๆ มีอาการแบบนี้ก็อาจเกิ
ดจากความเครียด ควรหันมาใส่ใจและพูดคุยหาสาเหตุ
ร่วมกันทันที”
ครอบครัวต้องเป็นเซฟโซนให้เด็ก
คนที่ใกล้ชิดที่สุดอย่างครอบครัว คือจุดเริ่มต้นในการดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่น ในยุคที่โลกโซเชียลมีอิทธิพลต่อวัยรุ่น สิ่งสำคัญอย่างแรกคือการสอนให้เด็ก ๆ ใช้สื่อออนไลน์อย่างมีสติ และแบ่งเวลาทำกิจกรรมในชีวิตจริง เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือใช้เวลากับครอบครัว เพื่อลดความกดดันจากโลกออนไลน์ นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความเข้าใจและการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัวก็เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดสะสม ลดโอกาสที่วัยรุ่นจะหันไปหาสารเสพติดหรือทางออกที่ผิด